Get PR advice to
grow your business

for FREE!!

Free advice. CLICK!!

blog


READ MORE

(Thailand) ดีซี คอนซัลแทนส์ เผย 5 เคล็ดลับ การสื่อสารในภาวะวิกฤต รับมือโควิดรอบใหม่
(Thailand) เป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น กับการกลับมาอีกระลอกกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ครั้งนี้มีแนวโน้มที่รุนแรงและระบาดอย่างรวดเร็วมากกว่ารอบ 1-2 ที่ผ่านมา ส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ ต้องปรับตัวเพื่อประคองธุรกิจให้อยู่รอดในภาวะวิกฤตกันทั่วโลก ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ ประธานที่ปรึกษา บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด ได้ให้ 5 เคล็ดลับของการสื่อสารในภาวะวิกฤต สำหรับรับมือโควิดรอบใหม่ไว้ดังนี้

หัวใจสำคัญของประเมินการสื่อสารในภาวะวิกฤต

1. จัดตั้งทีมสื่อสารเฉพาะกิจ ทบทวนเป้าหมายและกลยุทธ์ที่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย และสร้างจังหวะการสื่อสารเชิงรุก สำหรับองค์กรต่าง ๆ โดยเฉพาะ SME เมื่อต้องเผชิญกับภาวะนี้อีกครั้ง องค์กรต้องมีการประเมินตัวเอง ว่าแต่ละองค์กรมีทีมในการสื่อสารในภาวะวิกฤตแล้วหรือยัง หากองค์กรใดมีอยู่แล้วเป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งที่ต้องทำต่อคือการ Communication Review เพื่อประเมินกระบวนการกันใหม่ สิ่งสำคัญคือครั้งนี้ควรมีการตั้งวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย ซึ่งเป้าหมายของการสื่อสารในภาวะวิกฤตคือ การทำให้ธุรกิจที่บริหารอยู่กลับมา Back to Normal หรือ Back to Basic คือเวลาที่มีวิกฤตเกิดขึ้นมันจะส่งผลกระทบกับการทำธุรกิจปกติขององค์กร แต่ครั้งนี้ทุกองค์กรกำลังเจอกับภาพใหญ่ของวิกฤตซึ่งไม่เคยมีมาก่อน และยังคาดคะเนไม่ได้ว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลงเมื่อไหร่ แต่เดิมประเทศไทยมี 4 สี มีสีเขียว เหลือง แดง ส้ม แต่ตอนนี้มีแค่สีแดง กับสีส้ม แล้วต่อจากนี้จะเป็นอย่างไรต่อ เป็นสิ่งที่ประเมินได้ยาก จึงเป็นโจทย์ของการทำธุรกิจ ว่าเดือนต่อ ๆ ไปจะเป็นอย่างไร จะไปทางไหนต่อ

2. ให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพและความปลอดภัย มากกว่าการขายสินค้าและการสร้างแบรนด์ ช่วงเวลานี้ไม่ใช่ช่วงเวลาในการให้ความสำคัญของการสร้างภาพลักษณ์หรือยอดขาย ในขณะที่โลกกำลังได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า หัวใจของการสื่อสารในภาวะวิกฤตก็คือ ต้องแสดงถึงความเห็นอกเห็นใจ การแสดงถึงความเข้าใจในธรรมชาติ ในชะตากรรมของเพื่อมนุษย์ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าเป้าหมายหรือไม่ใช่ลูกค้าเป้าหมาย รวมถึงพนักงานในบริษัท โดยคำนึงความปลอดภัยในสุขภาพในชีวิตของคนในองค์กรและลูกค้า และการให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ยกตัวอย่าง บางบริษัทอาจมีการตั้งขายสินค้าออนไลน์อัตโนมัติโดยนำเสนอไปถึงลูกค้าในช่วงนี้ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ซึ่งบางทีอาจไม่เข้ากับสถานการณ์ ก็จำเป็นต้องถอนออก เพราะนอกจากไม่สร้างรายได้ ยังอาจเป็นการทำให้ลูกค้าเกิดความรำคาญด้วย แต่หากสินค้าและบริการของเราอยู่ในหมวดหมู่ที่เข้ากับสถานการณ์เช่น ประกันชีวิต ประกันโควิด หรืออื่น ๆ ที่เป็นเรื่องใกล้ตัวที่จำเป็นกับทุกคนในสถานการณ์แบบนี้สามารถทำได้ และช่วงนี้องค์กรควรงดการพูดเรื่องผลประกอบการต่างๆ ควรโฟกัสกับสถานการณ์ที่อยู่ตรงหน้าว่าเราจะดูแลตัวเองอย่างไร จะดูแลลูกน้องอย่างไร จะดูแลลูกค้าอย่างไร คือสิ่งสำคัญที่สุด

3. สื่อสารอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน เปิดช่องทางการสื่อสาร 2 ทาง โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เมื่อเราสื่อสารไปยังคนภายนอกแล้ว คนภายนอกหรือลูกค้ามักจะมีคำถามกลับมา องค์กรต้องมีการตั้งหน่วยงานที่ตั้งรับกับคำถาม Q&A Unit ยิ่งถ้าเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่สวัสดิภาพของประชาชน ยิ่งต้องมีทีมที่รองรับเรื่องนี้โดยเฉพาะ กรณีหากมีสายด่วน Hotline หมายเลขโทรศัพท์ก็ต้องจำได้ง่ายแค่ 4 ตัว และต้องเปิดช่องทางการติดต่อให้หลากหลายช่องทาง ทั้งเบอร์โทรศัพท์ที่จำง่าย เว็บไซต์ที่ต้องอัพเดทข้อมูลให้เป็นปัจจุบันตลอด หรือเว็บไซต์ควรมีช่องทางที่อ่านแล้วคนทั่วไปสามารถพบกับคำถาม-คำตอบที่คนถามบ่อย ๆ หรือมีคำถาม-คำตอบอยู่ในแพลตฟอร์มอื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นไลน์ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ เป็นต้น

4. สร้างความสอดคล้องต่อเนื่องกันทั้งในองค์กรและนอกองค์กร โดยสร้างความเข้าใจอย่างชัดเจนในองค์กรก่อน เพื่อให้คนในองค์กรสามารถเป็นกระบอกเสียงที่ดีในการสื่อสารกับลูกค้า บางครั้งบางองค์กรอาจพุ่งเป้าการสื่อสารไปยังคนภายนอกซึ่งองค์กรสามารถสื่อสารได้ดี แต่มิได้มีการสื่อสารกันเองภายในองค์กร ซึ่งที่ถูกต้องแล้วผู้บริหารจำเป็นต้องสื่อสารกับคนในองค์กรให้ทราบข้อมูลก่อน ให้เข้าใจก่อน เพราะพนักงานถือเป็น spokesperson ขององค์กรในการช่วยตอบคำถามให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น เราเรียกว่า การทำให้ข้อความการสื่อสารสอดคล้องกันทั้งในองค์กรและนอกองค์กร

5. สร้างความเป็น Thailand Team ความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวไม่แตกแยก เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในภาวะวิกฤติ โดยการเลือกใช้ถ้อยคำในการสื่อสารที่สร้างสรรค์ และพลังบวกในการฝ่ายวิกฤต ชั่วโมงนี้คนไทยต้องดูแลกันเอง ทุกภาคส่วน ทุกครั้งที่ออกมาสื่อสารต้องสร้างความเป็น Unity ต้องสร้างความเป็นไทยแลนด์ทีม ต้องสร้างความฮึกโหมในทีม ต้องไม่พูดต่อว่ากัน ไม่พูดในแง่ลบ หรือพูดเรื่องของตัวเอง แต่ทุกคนต้องตระหนักว่า ตอนนี้ประเทศชาติจะเป็นอย่างไร ประเทศชาติจะขับเคลื่อนอย่างไร แม้แต่คนที่เห็นต่างก็สามารถใช้โอกาสนี้ดึงเข้ามาร่วมมือกัน เพราะเป็นโอกาสที่ทุกคนจะการแสดงถึงวิสัยทัศน์ แสดงถึงวุฒิภาวะในการเป็นผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำประเทศ ผู้นำรัฐบาล ผู้นำองค์กรภาครัฐภาคเอกชน ช่วยกันอย่างมีขั้นมีตอนมีจังหวะ เห็นภาพเดียวกัน ขับเคลื่อนไปด้วยกัน อันนี้คือหัวใจสำคัญ ซึ่งท้ายที่สุดความเป็น Thailand Team จะทำให้ทุกคนสามารถฝ่าวิกฤตไปได้ด้วยกัน

สามารถติดตามบทความของ ดีซี คอนซัลแทนส์ฯ เพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ : DC Consultants เฟซบุ๊ก แฟนเพจ : Danai Chanchaochai หรือ รับฟังคลิป 5 เคล็ดลับการสื่อสารในภาวะวิกฤติ รับมือโควิดรอบใหม่ ได้ที่ https://youtu.be/1fNLXdN5b28

READ MORE

READ MORE

(Thailand) ดีซี คอนซัลแทนส์ ชี้ 5 เหตุผลที่แบรนด์ควรใช้ “Clubhouse” ในการสร้างแบรนด์และสื่อสารการตลาด
(Thailand) Clubhouse เป็นแอปพลิเคชันสำหรับการสนทนาด้วยเสียงที่กำลังได้รับความสนใจในขณะนี้ โดยผู้ใช้งานสามารถสร้างห้องสนทนา แล้วตั้งหัวข้อต่างๆ ที่ต้องการจะพูดคุย เพื่อให้คนที่สนใจในเรื่องเดียวกันเข้ามาฟังหรือร่วมพูดคุยด้วย ภายในห้องจะมีพิธีกร (Moderator) ที่สามารถอนุญาตให้ผู้ฟังมาเป็นผู้พูด (speaker) ร่วมสนทนาได้ Clubhouse เป็นที่รู้จักมากขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะมีคนดังอย่างอีลอน มัสก์, มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก รวมถึงดาราและบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการต่างๆ หลายคนเข้ามาใช้พูดคุยเรื่องต่างๆ แต่แอปนี้มีข้อจำกัดคือยังไม่รองรับระบบ Android และต้องให้ผู้ที่มีบัญชีผู้ใช้อยู่ก่อนแล้วเป็นคนเชิญเข้ามาจึงจะสามารถใช้ได้ โดยเชิญได้ 2 ครั้งเท่านั้น จึงทำให้เป็นกระแสความสนใจ โดยเฉพาะกลุ่ม Explorer ที่สนใจสื่งแปลกใหม่ ทำให้มีผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก

ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานที่ปรึกษา บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด กูรูด้านการประชาสัมพันธ์แถวหน้าของไทย กล่าวว่า Clubhouse เป็นเครื่องมือที่สามารถตอบโจทย์การสร้างแบรนด์และสื่อสารการตลาดได้ในยุคปัจจุบันที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังไม่สิ้นสุด แม้จะเริ่มมีการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนแล้ว แต่ยังไม่อาจมั่นใจได้ถึงประสิทธิภาพในการป้องกันโรค ประชาชนจึงจำเป็นต้องรักษาระยะห่างทางสังคมและหลีกเลี่ยงการพบปะกันโดยตรง (face to face) โดย 5 เหตุผลทึ่แบรนด์ควรใช้ Clubhouse มีดังนี้

1. ใช้สร้างความสัมพันธ์ (Brand Connection and Community) และชุมชนของตัวเองได้ การจำกัดการเข้าใช้งานทำให้ Clubhouse มีคุณค่ามากขึ้น แบรนด์จึงสามารถสร้างชุมชนของตัวเองด้วยการตั้งหัวข้อสนทนาที่น่าสนใจและมีความเกี่ยวข้องกับแบรนด์ เช่น เรื่องสุขภาพ การออกกำลังกาย การพัฒนาตนเอง การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม ประวัติศาสตร์ ผลลัพธ์ที่ได้คือ จะทำให้คนรู้สึกใกล้ชิดกับแบรนด์มากขึ้น โดยเฉพาะในภาวะที่การแพร่ระบาดของโควิด 19 ยังคงอยู่ การใช้ Clubhouse เป็นแพลทฟอร์มที่น่าสนใจ ที่สามารถนำมาทดแทนการจัดงานสัมมนา การจัดการประชุม Symposium ระดับใหญ่ ที่มีห้องสัมมนาย่อยหลากหลายหัวข้อและผู้บรรยาย เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเลือกเข้าฟังในหัวข้อที่ตนสนใจได้ ทั้งนี้ Clubhouse และการสัมมนามีบรรยากาศคล้ายกัน คือ เป็นการฟังสดแบบ Real Time และไม่สามารถฟังย้อนหลังได้

2. สร้างความชัดเจนให้กับแบรนด์ (Brand Positioning) การใช้ Clubhouse เป็นโอกาสของแบรนด์ในการแสดงตัวตนและจุดยืนของแบรนด์ ไม่ว่าจะด้วยการตั้งประเด็นสนทนาในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ หรือแม้แต่การเข้าร่วมห้องสนทนาของผู้อื่นแล้วใช้โอกาสนั้นในการแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์และแสดงถึงตัวตนของแบรนด์ เป็นการสร้างความแข็งแรงและส่งเสริมแบรนด์ได้อีกทางหนึ่ง โดยในขณะนี้ มีผู้บริหารหลายองค์กรและนักสื่อสารการตลาดได้เข้ามาใช้ประโยชน์มากขึ้น แต่ประเด็นด้านการเมืองที่กำลังมาแรงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่นักการสื่อสารการตลาดพึงระมัดระวังและให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้

3. ควบคุม key message ในการสื่อสารได้ ขณะนี้มีสื่อและองค์กรหลายแห่งเริ่มนำ Clubhouse มาใช้ในการจัดกิจกรรม เช่น การแถลงข่าว งานเสวนา เพราะ moderator ของห้องสนทนาแต่ละห้องมีอำนาจในการกำหนดว่าผู้ฟังหรือผู้เข้าร่วมห้องสนทนาคนไหนสามารถพูดได้ สามารถปิดเสียงคนที่กำลังพูดอยู่ได้ จึงสามารถควบคุมสถานการณ์และทิศทางการสนทนาได้ง่ายกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทักษะปฏิภาณไหวพริบของ moderator ด้วยที่จะทำให้การสนทนาเป็นไปอย่างราบรื่น จากประสบการณ์ของคนที่เข้าใช้ Clubhouse พบว่า คุณภาพเสียงมีความชัดเจน มีเสียงก้องและเสียงรบกวนน้อยกว่าแพลทฟอร์มอื่น จึงเป็นเครื่องมือที่น่าสนใจและมีประสิทธิภาพ

4. เป็นเครื่องมือในการฟังเสียงผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง (deep listening) การสนทนาใน Clubhouse ต่างจากพอดแคสต์ตรงที่เป็นการสื่อสารสองทาง (two-way communication) ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังแบบเรียลไทม์ มีการถามตอบ แลกเปลี่ยนความเห็นกันได้ทันที แบรนด์จึงสามารถสำรวจความคิดเห็นที่ผู้บริโภคมีต่อแบรนด์ได้โดยตรง ทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผู้บริโภค หรือ consumer insight ที่นำไปใช้ในการปรับแผนหรือวางกลยุทธ์การตลาด รวมถึงสามารถเก็บเกี่ยวไอเดียจากการพูดคุยนำไปปรับใช้ในการทำ content marketing ได้อีกด้วย

5. Audio is Power! เสียงทรงพลัง ไม่ต้องแต่งตัวแต่งหน้า และไม่ต้องเดินทาง เสียงเป็นสิ่งที่ทรงพลังใน Clubhouse เราสามารถใช้เสียงเพื่อสร้างหรือส่งเสริมแบรนด์ได้เลย โดยไม่ต้องเห็นรูปร่างหน้าตา ไม่ต้องแต่งหน้าทำผม ใส่สูทผูกไท นุ่งผ้าไหม หรือเดินทางมาพบเจอกัน ดังนั้นจึงควรฝึกการพูดและการใช้เสียงให้มีพลังดึงดูดความสนใจและทำให้ผู้ฟังเห็นภาพได้ชัดเจน เป็นการสร้างมโนภาพ หรือ Theatre of the Mind ให้เกิดขึ้นในใจกลุ่มเป้าหมาย

Clubhouse จะได้รับความนิยมไปอีกนานแค่ไหนยังไม่มีใครตอบได้ แต่ในยุคของวิถีชีวิตแบบใหม่และการเว้นระยะห่างทางสังคมในปัจจุบันนี้ แบรนด์ไม่ควรปล่อยโอกาสให้ผ่านเลยไป และควรนำข้อดีของช่องทางการสื่อสารต่างๆ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการสื่อสารสร้างสัมพันธ์กับผู้บริโภคและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์

สามารถติดตามบทความของ ดีซี คอนซัลแทนส์ฯ เพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ : DC Consultants เฟซบุ๊ก แฟนเพจ : Danai Chanchaochai

READ MORE

READ MORE

(Thailand) ดีซี คอนซัลแทนส์ ชี้ทิศทางพีอาร์ยุค New Normal เข้าสู่ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นเต็มรูปแบบ Storytelling is King – Context is Queen
(Thailand) กรุงเทพฯ - ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ บริษัทที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ ชี้ทิศทางการประชาสัมพันธ์ในยุคที่โลกและประเทศไทยเผชิญความผันผวนอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้เรียกได้ว่าส่งผลกระทบต่อทุกวงการ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การสาธารณสุข และปฏิกิริยาของสังคม รวมถึงส่งผลถึงพฤติกรรมการใช้โซเชียล มีเดีย ของคนทั่วโลกที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงนับตั้งแต่ปีที่ผ่านมา จนก้าวสู่ปี พ.ศ. 2564

ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานที่ปรึกษา บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ฯ กูรูด้านประชาสัมพันธ์ชื่อดังได้กล่าวถึง การทำงานของพีอาร์ (Public Relations) ในยุคนี้ไว้ว่า ในอุตสาหกรรมด้านพีอาร์ เมื่อโลกเปลี่ยน วงการสื่อสารมวลชนเปลี่ยนไป พฤติกรรมในการเสพสื่อของผู้บริโภคเปลี่ยนไป พีอาร์เองก็ต้องมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงตัวเองและวิธีการทำงานครั้งใหญ่เช่นกัน เมื่อก่อนพีอาร์อาจวัดมูลค่าผลงานจากมูลค่าสื่อ (Media Value) เช่น Share of Voice (SOV) หรือ Advertising Value Equivalent (AVE) แต่ปัจจุบัน พีอาร์จำเป็นต้องมีการยกระดับ (Up Skill) เป็นพีอาร์เชิงกลยุทธ์ (Re Skill) สามารถเป็นคลังสมองของลูกค้า ตอบโจทย์ทั้งระยะสั้น กลาง และยาว ด้วยการวางแผนประชาสัมพันธ์ที่สามารถประเมินผลลัพธ์สุดท้ายได้อย่างทันต่อเหตุการณ์ สามารถรองรับภาวะวิกฤติของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังต้องตอบโจทย์ลูกค้าในยุคนี้ได้อย่างรวดเร็ว ฉับไวด้วย

โดย ดร.ดนัย ได้พูดถึงเทรนด์ของพีอาร์ยุค New Normal 2021 : PR Digital Transformation ที่องค์กรประชาสัมพันธ์ ต้องยึดไว้ 5 ข้อหลัก ๆ ดังนี้

1. Storytelling is King - Context is Queen หมายถึง วิธีการเล่าเรื่องหรือการสื่อสารต้องเปลี่ยนไป เพราะในโลกของโซเชียล มีเดีย กลุ่มเป้าหมายที่รับข่าวสารนั้นไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ในการสื่อสารเรื่องราวแต่ละครั้ง พีอาร์ต้องสามารถบอกเล่า Key Message ประเด็นการสื่อสารสำคัญไปในช่องทางที่หลากหลาย และสื่อสารออกไปในทุกแพลตฟอร์มได้ (Multiple media platform) อีกทั้งยังต้องสื่อสารในบริบทที่ถูกต้อง ต้องเข้าใจภาวะอารมณ์ กระแสสังคม และประเมินจังหวะเวลาที่ถูกต้องในการสื่อสารเพื่อให้การสื่อสารได้ผลลัพธ์สูงสุด หรือเรียกง่าย ๆ ว่าต้องถูกที่ ถูกเวลา ยกตัวอย่าง เน็ต ไอดอล อย่าง “พิมรี่พาย” ที่จัดงานวันเด็กให้เด็ก ๆ บนดอย ซึ่งคลิปที่ถูกเผยแพร่ออกไปนั้น มีผู้ชมหลักหลายล้านวิวในเวลาอันรวดเร็ว หรืออาจพูดได้ว่าเป็นการจัดวันเด็กที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดของปี

2. New Media Landscape พีอาร์ต้องเข้าใจภูมิทัศน์ของสื่อใหม่ เพราะต้องยอมรับว่า สื่อที่ทรงอิทธิพลในปัจจุบัน ไม่ใช่องค์กรสื่อ หรือสื่อดัง ๆ ที่เป็น Traditional Media อีกต่อไป แต่พีอาร์ต้องสามารถขยายช่องทางการสื่อสารจากทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ ไปสู่สื่อใหม่ (New Media) ได้ ได้แก่ Net Citizen / Influencer / Blogger / Youtuber เป็นต้น ซึ่งถ้าพีอาร์เข้าใจภูมิทัศน์ใหม่ ก็จะทำให้พีอาร์ส่งต่อข่าวสารนั้น ๆ ได้อย่างถูกช่องทาง ก่อให้เกิดการรับรู้ เกิดกระแสสังคม นำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดให้แก่ลูกค้า

3. การใช้ Big Data พัฒนาสู่การฟังเสียงสังคม Social Listening สู่การเจาะเข้าสู่กลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะเฉพาะตัว Consumer Insight หมายถึง พีอาร์ต้องรู้ว่า ตอนนี้โลกหรือสังคมกำลังพูดถึงแบรนด์ของลูกค้าเราอย่างไร ทั้งนี้เพื่อพีอาร์จะได้นำข้อมูลจาก Big Data มาวิเคราะห์ในการเลือกใช้ Tools หรือวางแผนกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ให้เฉียบคม ตรงใจ สัมพันธ์กับไลฟสไตล์ของผู้บริโภค โดยเฉพาะยุคนี้เป็นยุคที่ทุกคนอยู่ในสังคมที่สามารถเลือกการเสพสื่อได้อย่างเสรี (People hear what they want to hear) อำนาจการบริโภคสื่ออยู่ที่นิ้วมือของผู้บริโภค พีอาร์จึงจำเป็นต้องเข้าใจในพฤติกรรมและนิสัยการเสพสื่อของกลุ่มเป้าหมายให้ได้อย่างลึกซึ้ง

4. Creativity and Technology is the new currency ความคิดสร้างสรรค์ผนวกกับการใช้เทคโนโลยี เป็นหัวใจสำคัญของการพีอาร์ พีอาร์ยุค 4.0 ต้องสามารถนำความคิดสร้างสรรค์ มาผสานกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ตอบโจทย์ด้านการสื่อสารได้ เช่น การนำกลยุทธ์ด้านการตลาดดิจิทัลมาใช้ มีการสร้างคอนเท้นต์แบบโต้ตอบ วิดีโอ มาร์เก็ตติ้ง สร้างชุมชนและเครือข่าย ประยุกต์ใช้ AI และกลยุทธ์ Influencer Marketing เป็นต้น

5. Brand Positioning & Brand Love จุดยืนของแบรนด์และองค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญ พีอาร์ต้องประเมินและปักหมุด จุดยืนขององค์กรให้เป็นที่ยอมรับกับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย โดยคำนึงตลอดเวลาว่า ภาพลักษณ์ขององค์กรมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการทำพีอาร์ให้ลูกค้าในสภาพสังคมที่มีความเปราะบาง อาทิ ทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจการเมือง ส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ ของลูกค้ามีความอ่อนไหวมากกว่าในอดีต พีอาร์จึงต้องทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำที่เกิดประโยชน์สูงสุดระยะยาว และสิ่งสำคัญ องค์กรต้องมุ่งมั่นทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมด้วยความจริงใจ บริสุทธิ์ใจ เป็นการสร้างความรัก ความศรัทธา ให้เกิดขึ้นกับองค์กร หรือที่เรียกว่า Brand Love

สามารถอ่านบทความอื่น ๆ จาก ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย เพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ : DC Consultants และ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ : Danai Chanchaochai

READ MORE

READ MORE

ดีซี คอนซัลแทนส์ เผยกลยุทธ์การสื่อสารในภาวะวิกฤต ฝ่าวิกฤตโควิด-19
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ดีซี คอนซัลแทนส์ บริษัทที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ชั้นนำของไทย ได้จัดการสัมมนาออนไลน์ หลักสูตรการสื่อสารในภาวะวิกฤต (Crisis Communication) ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting ให้กับหน่วยงานในสังกัดกรมสรรพากรทั่วประเทศ ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องการบริหารจัดการการสื่อสารในภาวะวิกฤต การจัดการข้อมูลและประเด็นในการสื่อสาร และการให้ข้อมูลกับสื่อออนไลน์-ออฟไลน์ โดยมีผู้บริหารระดับสูงและบุคลากรของกรมสรรพากรและหน่วยงานในสังกัดทั่วประเทศ เข้าร่วมการสัมมนา

ดร. ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานที่ปรึกษา บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชันส์ จำกัด กล่าวว่า “การระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อวิถีชีวิตและการดำเนินกิจกรรมของทุกภาคส่วนทั่วประเทศ ทำให้ทุกองค์กรต้องกลับมาทบทวนและให้ความสำคัญกับการสื่อสารในภาวะวิกฤต ทั้งนี้ต้องสร้างความเข้าใจภายในองค์กรก่อน วางแผนการสื่อสารภายใน-ภายนอก ให้เข้าใจตรงกัน ควบคุมประเด็นในการสื่อสาร นำเทคโนโลยีมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่น การสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ การให้ข้อมูลผ่านอินโฟกราฟิกให้เข้าใจง่าย โดยต้องให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพความปลอดภัยของคนในองค์กร ในขณะเดียวกันต้องพยายามในการปฏิบัติงานให้ได้อย่างต่อเนื่องไม่สะดุด เน้นการสร้างความร่วมมือร่วมใจฝ่าวิกฤตไปด้วยกัน และต้องมีการสื่อสารอย่างต่อเนื่องเพื่อเน้นย้ำสาระสำคัญให้เป็นที่รู้กันทั่วถึงและจดจำได้ อาจมีการเปลี่ยนรูปแบบในการสื่อสารหรือข้อความบ้างแต่คงใจความเดิม เพื่อคงความสดใหม่ ทำให้คนสนใจ”

ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า “กรมสรรพากรเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย ทั้งในด้านการส่งเสริมการปฏิบัติภารกิจขององค์กร และการเรียนการสอนเพิ่มทักษะบุคลากรทางออนไลน์ รวมถึงการสัมมนาในครั้งนี้ ซึ่งเป็นช่วงของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทางกรมได้เผชิญความท้าทายหลายอย่าง ทั้งในด้านการดำเนินงานขององค์กร การสื่อสารกับหน่วยงานในสังกัดที่มีอยู่ทั่วประเทศ และการสื่อสารกับประชาชนผู้ใช้บริการ โดยเราให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ควบคู่กับการให้บริการประชาชนและปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติ ทางกรมสรรพากรเชื่อว่าเนื้อหาสาระและคำแนะนำที่ได้รับจากการสัมมนาในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไป”

ในการสัมมนาครั้งนี้ ดร.ดนัย ยังได้ให้หลักสำคัญในการสื่อสารในภาวะวิกฤต 3 ประการ คือ

1. ต้องวางแผนการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กรในภาวะวิกฤต ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ พร้อมนำไปปฏิบัติทันที ควรวางแผนรองรับเหตุฉุกเฉินหรือ disruption ต่างๆ ให้ครอบคลุมทั้งเชิงรุกและเชิงรับ ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความโปร่งใส พร้อมทั้งกำหนดทีมงาน ผู้มีส่วนในการตัดสินใจ รวมถึงมีการสื่อสารในองค์กรล่วงหน้าให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ เตรียมการทุกด้านที่เกี่ยวข้องให้พร้อม สามารถนำไปปฏิบัติได้ทันทีอย่างมีประสิทธิภาพ

2. การสื่อสารอย่างโปร่งใส ด้วยความฉับไวทันท่วงที มีความยืดหยุ่นและจริงใจ คือหัวใจสำคัญในการเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส และส่งเสริมภาพลักษณ์ให้ดียิ่งขึ้น องค์กรต้องใส่ใจทุกคนในองค์กรรวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างทั่วถึง เริ่มต้นจากการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการแพร่ระบาดและการดูแลสุขภาพอนามัยของบุคลากรภายในองค์กรทั้งหมด รวมทั้งการเพิ่มมาตรการป้องกันการแพร่เชื้อ เพื่อให้กระบวนการทำงานมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ต้องขจัดความเชื่อและความเข้าใจที่ผิดด้วยการให้ข้อมูลที่ถูกต้องอย่างรวดเร็ว ต้องก้าวทันสถานการณ์และพร้อมชี้แจงแนวทางการรับมือ ด้วยข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน

3. แยก Fact vs. Fake News ป้องกันความสับสนของข้อมูลข่าวสาร และพร้อมตอบสนองต่อสถานการณ์ได้ทุกที่ ไม่ว่าจะทำงานจากที่บ้านหรือทำงานในออฟฟิศ ทุกฝ่ายจะต้องวางแผนและเตรียมการรองรับสถานการณ์ที่คาดไม่ถึงต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องไม่ติดขัด เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ซึ่งในยุคนี้มีเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ที่เข้ามาช่วยในการสื่อสารกับสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป รวมถึงการสื่อสารภายในองค์กร เช่น การแถลงข่าวออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ หรือการประชุมและจัดการอบรมผ่านแอปพลิเคชันที่มีให้เลือกมากขึ้นตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของโลก

สำหรับองค์กรที่สนใจการอบรมออนไลน์หลักสูตรการสื่อสารในภาวะวิกฤตและการประชาสัมพันธ์ของ ดีซี คอนซัลแทนส์ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.dcconsultants.co.th และ Facebook @DCConsultants

READ MORE

READ MORE

ยุค 4.0 ต้องอัพยอดขายด้วย Personalized Marketing
Personalized Marketing คือการทำการตลาดเฉพาะบุคคล เป็นการนำเสนอกิจกรรมทางการตลาดให้ตรงกับความต้องการหรือความสนใจของบุคคลนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการที่สนใจ การตั้งราคาที่เหมาะสม การสื่อสารการตลาด หรือ การจัดช่องทางจัดจำหน่ายที่โดนใจ เปรียบเสมือนอีกหนึ่ง P ที่ธุรกิจควรต้องมี

แต่ Personalized Marketing นั้นไม่ใช่สิ่งที่เกินขึ้นใหม่ เพราะว่าการนำเสนอสินค้ารูปแบบนี้เคยมีมานานแล้ว เช่น ร้านทำรองเท้าออกแบบรองเท้าที่เหมาะสมของแต่ละคน แต่สาเหตุที่ทำให้กลยุทธ์นี้มาแรงเนื่องจากเทคโนโลยีในยุคนี้ ที่ทุกคนมีทางเลือกที่หลากหลาย สามารถเลือกรับข้อมูลได้มากขึ้น ดังนั้นการทำการตลาดแบบ Mass อาจไม่ตอบโจทย์ซักเท่าไหรเพราะ แต่ละคนก็มีความชอบที่แตกต่างกันแม้กระทั้งกลุ่มคนใน Segment เดียวกัน

ยกตัวอย่างเช่น Youtube คุณเคยสังเกตหรือไม่ทำไมคุณใช้ Youtube ได้ไม่เบื่อเลย นั่นเป็นเพราะว่า Youtube เก็บข้อมูลในการ ดู like หรือ subscribe ของคุณ เมื่อคุณทำพฤติกรรมดังกล่าวแสดงว่าคุณมีความสนใจใน Content นั้นๆ Youtube จึงนำเสนอ Content ที่มีความใกล้เคียงกันให้คุณ เพราะว่า Youtube รู้ว่าคุณชอบอะไร

จะเห็นได้ว่า Youtube มีการข้อมูลไว้เป็นจำนวนมาก Youtube จึงสามารถวิเคราะห์ได้ว่าแต่ละคนชอบวีดีโอประเภทอะไรบ้าง แล้วนำเสนอวีดีโอที่คุณชอบ แล้วถ้าหากธุรกิจของคุณมีความสามารถในการเก็บข้อมูลของลูกค้าได้ แล้วสามารถวิเคราะห์ได้ว่าลูกค้าแต่ละคนชอบสินค้าหรือบริการแบบไหน ธุรกิจคุณก็จะสามารถปิดการขายได้เร็วขึ้น เพราะเป็นการเสนอขายสินค้าที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งจะสามารถเพิ่มประสบการณ์ดีๆให้แก่ลูกค้าในการเลือกสินค้าได้อีกด้วย

READ MORE

READ MORE

อุปนิสัยที่ยิ่งใหญ่ เบื้องหลังความสำเร็จของชีวิต
‘คนจะประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงได้ ก็ต่อเมื่อยึดหลักคุณธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการดำรงชีวิต’

หลายคนคงเคยได้ยินคำพูดเหล่านี้ และอาจเคยสงสัยว่า ‘คุณธรรม’ เกี่ยวข้องอะไรกับความสำเร็จ? จะเอามาปรับใช้อย่างใรในชีวิต การค้า การขาย การตลาด? วันนี้ขอพักเรื่องกลยุทธ์การตลาด มาคุยเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน...

เคยไหมครับ ที่คุณต้องทำการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ที่รับประกันว่าสุดยอดแล้ว แถมยังใช้กลยุทธ์การตลาดที่มั่นใจสุดๆ ว่าเยี่ยมยุทธ์ แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จ ล้มไม่เป็นท่า!!!

เป็นคำถามที่น่าคิดนะครับ แล้วคนที่ประสบความสำเร็จสูง อย่าง ‘ริชาร์ด แบรนสัน’ ‘อีลอน มัสก์’ หรือ’บิล เกตส์’ และอีกหลายต่อหลายคน พวกเขามีเคล็ดลับอะไรที่ช่วยพัฒนาความฉลาด และผลักดันพวกเขาให้ไปสู่จุดสูงสุดของความสำเร็จได้

บางทีมันก็ไม่มีคำตอบที่ตายตัว เพราะมันมีหลายปัจจัยที่ทำให้คนประสบความสำเร็จ แต่ปัจจัยหลักๆ สำคัญที่หลายคนเชื่อก็คือ “วิธีคิด” หรือ mindset นั่นเอง สิ่งนี้แหละที่เป็นตัวชี้วัดของคนประสบความสำเร็จและคนล้มเหลว



วันนี้จึงขอนำเสนอ ‘อุปนิสัยที่ยิ่งใหญ่ หลักแห่งชีวิต 12 ประการ’ ซึ่งเป็นข้อสรุปหรือแนวคิดอันทรงคุณค่าที่นำไปสู่การปฏิบัติจากหนังสือที่ใช้ชื่อเดียวกัน ผลงานของ Dr. Stephen R. Covey ปรมาจารย์ด้านการบริหารผู้ล่วงลับ

ใจความสำคัญของหนังสือได้กล่าวถึงสิ่งที่เป็นหลักในการดำเนินชีวิตด้วยการให้ความสำคัญกับ ‘คุณค่าภายใน’ ที่จะสามารถสะท้อนมุมมองความคิดของคนออกมาได้ โดยผู้เขียนได้ย้ำถึงหลักสำคัญที่ว่า เหตุผลของความสำเร็จไม่ใช่เพียงการนำเสนอ แต่จะต้องลงมือปฏิบัติ ให้รู้ลึกถึง ‘อุปนิสัยที่ยิ่งใหญ่’

สิ่งที่ ดร. โควีย์ ได้อธิบายเกี่ยวกับวิธีการดำเนินชีวิตที่จะไม่ถูกครอบงำจากปัจจัยภายนอก แต่ให้เน้นถึงความสำคัญของคุณค่าภายใน โดยใช้หลักแห่งชีวิต 12 ประการมาอธิบาย ซึ่งหลักการที่จะนำชีวิตให้ประสบความสำเร็จ มีดังต่อไปนี้

การยึดหลักคุณธรรม
การอุทิศตน
การจัดลำดับความสำคัญของชีวิต
การรู้จักเสียสละ
การมีจิตบริการ
จิตสำนึกแห่งความรับผิดชอบ
ความซื่อสัตย์
ความสัมพันธ์เชิงเกื้อกูลกัน
การให้คุณค่าแก่ความหลากหลาย
การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
การฝึกฝนพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
การเรียนรู้ด้วยการสอนผู้อื่น
บอกก่อนครับว่า หนังสือ ‘อุปนิสัยที่ยิ่งใหญ่ หลักแห่งชีวิต 12 ประการ’ เขียนโดย Stephen R. Covey เป็นอีกหนึ่งผลงานชิ้นโบว์แดงที่ยังไม่เคยตีพิมพ์เป็นภาษาไทยมาก่อน บรรจุเนื้อหาความคิดบางส่วนที่ดีที่สุดที่ ดร. โควีย์ ได้เขียนไว้ระหว่างที่ตีพิมพ์หนังสือ 7 อุปนิสัยสำหรับผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง

ดร.โควีย์ กล่าวว่า การยึดหลักคุณธรรมคือหลักการข้อแรกและข้อสำคัญของการดำรงชีวิตที่มีคุณค่าภายใน บุคคลที่มีชีวิตโดยยึดหลักคุณธรรมทั้งภายในและภายนอกเป็นศูนย์กลางยึดเหนี่ยวในการดำรงชีวิต พวกเขาจะเป็นบุคคลที่มีมโนธรรมและรู้จักผิดชอบชั่วดี

สรุปคือเราจะประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงได้ก็ต่อเมื่อเรายึดหลักคุณธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการดำรงชีวิตนั่นเอง ทำไมต้อง 12 ข้อ?

หลักแห่งชีวิต 12 ประการของ ดร.โควีย์ ได้กลั่นกรองมาจากงานวิจัยและประสบการณ์อันยาวนานของท่านเองที่ได้ร่วมงานกับคนหลายพันคนทั่วโลก ท่านได้กล่าวว่า หลักแห่งชีวิต 12 ประการ เป็นปัจจัยพื้นฐานและหลีกเลี่ยงไม่ได้ และมีบางหัวข้อต้องถูกจัดเรียงตามลำดับ คุณจะสังเกตเห็นว่า ความซื่อสัตย์ เป็นรากฐานของความสำเร็จที่แท้จริง ถัดมาคือ การอุทิศตน ซึ่งเป็นหลักการที่ต้องเรียนรู้ในการทิ้งมรดกหรือการสร้างตำนานที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมฝากไว้ให้คนรุ่นหลังนั้นต้องทำอย่างไร การปฏิบัติตามหลักการ การจัดลำดับความสำคัญของชีวิต ช่วยให้เราไม่ต้องเสียเวลากับบางสิ่งที่ไร้ประโยชน์

ขณะเดียวกัน มันเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะทิ้งมรดกไว้ให้ชนรุ่นหลังโดยไม่ต้อง เสียสละส่วนตัว เมื่อเราเริ่มมีจิตอาสาและต้องการความช่วยเหลือหรือ การบริการ คนอื่นๆ เราก็จะค่อยๆ เริ่มที่จะเข้าใจความหมายของหลักการข้อนี้ เราจะละทิ้งอีโก้ของตัวเองและเข้าใจความหมายของความสำเร็จที่แท้จริงได้



ในสังคมปัจจุบันเรามักจะพบกับผู้คนมากมายที่ขาด จิตสำนึกแห่งความรับผิดชอบ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่บุคคลที่เห็นแก่คุณค่าภายในนั้นจะทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด โดยไม่ปัดความผิดให้กับผู้อื่น มีความเป็นธรรมและตรงไปตรงมา รู้จักรับผิดชอบการกระทำของตัวเอง

ความซื่อสัตย์ คือ ผลที่เกิดจากการบริการคนอื่น ในขณะที่คุณอดทนในการให้บริการผู้อื่น คุณได้ค่อยๆ พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างคุณและผู้อื่น ความซื่อสัตย์จะค่อยๆ ก่อตัวขึ้นระหว่างกันอย่างเป็นธรรมชาติโดยไม่ต้องเสแสร้ง และสิ่งนี้จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์เชิงเกื้อกูลกัน ซึ่งมันก็คือกฎของการรักษาสมดุลธรรมชาติ เราจะได้รับการปฏิบัติอย่างที่เราปฏิบัติต่อผู้อื่น

แก่นแท้ของหลักการ เราจะต้องเห็น คุณค่าของความหลากหลาย หากเราต้องการที่จะเร่งความสำเร็จให้เร็วขึ้น ธรรมชาติได้กำหนดไว้แล้วว่า สิ่งที่อ่อนแอกว่าต้องถูกกำจัดและผู้ที่แข็งแรงกว่าจะรอด ดร.โควีย์ไดกล่าวไว้ว่า “ถ้าคนสองคนมีความคิดเห็นที่เหมือนกัน ก็ไม่จำเป็นต้องมีอีกคน” การใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของคนหลายๆ คนที่มีความแตกต่างกันจะทำให้เราอยู่ใกล้ความสำเร็จมากขึ้น

และหากเราขาดการพัฒนาตนเองและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เราต้องเผชิญกับผลกระทบที่ตามมา เช่น ความถดถอย ไม่เจริญก้าวหน้า เราจึงควรเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นคนใหม่ด้วยการออกกำลังกาย การอ่าน ใช้เวลากับคนที่เรารัก ฝึกสมาธิ เป็นต้น ซึ่งสุดท้ายแล้ว หากเราสามารถเข้าใจคุณค่าภายในจากการสอนผู้อื่น สิ่งนี้ไม่เพียงแค่ทำให้คุณเป็นตัวอย่างที่ดีเท่านั้น แต่คุณจะกลายเป็นแบบอย่างที่มีคุณค่าภายในที่ยิ่งใหญ่



…หลักแห่งชีวิต 12 ประการ ไม่ใช่สูตรลัดความสำเร็จ เพราะยังมีหลักการอื่นๆ นอกเหนือจากนี้อีกมาก

แต่หากขาดคุณสมบัติเหล่านี้ คุณจะไม่มีวันพบกับความสำเร็จที่แท้จริงได้!

READ MORE

READ MORE

เยาวชนเหนือผุดไอเดียเก๋ผลิต “น้ำยาล้างจานรักษ์โลก”
เสียงหัวเราะ และความสนุกสนานแววตามุ่งมั่นของน้องๆ นักเรียนในพื้นที่ห่างไกล เกิดขึ้นในขณะที่กลุ่มรุ่นพี่ ม.4 รวมตัวกันมาแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติในชุมชนของตนเอง กิจกรรมครั้งนี้ ไม่ใช่เพียงแค่การแบ่งปันความรู้และรับทราบถึงปัญหาของโรงเรียนและชุมชนร่วมกันเท่านั้น พวกเขายังได้พยายามช่วยแก้ปัญหาเท่าที่จะสามารถดำเนินการได้ แรงบันดาลใจและความมุ่งมั่นของเยาวชนชั้นมัธยมปลายเหล่านี้เกิดขึ้นจากน้องๆ ได้เข้าร่วมโครงการ PTTEP Teenergy ปีที่ 4 ซึ่งจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ก้าวเพื่อรักษ์” โดยบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ในค่ายมุ่งเน้นการปลูกฝังจิตสำนึกให้เยาวชนมีหัวใจรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่กับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน โดยยึดมั่นในหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
นายวิทูรย์ หมดสังข์ หรือ “น้ององค์” นักเรียนชั้น ม.4 จากโรงเรียนแม่ตื่นวิทยาคม จ.เชียงใหม่ ซึ่งเข้าร่วมค่ายภาคเหนือในโครงการ PTTEP Teenergy ปีที่ 4” ที่สวนป่าเขากระยาง จ.พิษณุโลก ตลอดระยะเวลา 3 วัน 2 คืนในค่ายทำให้วิทูรย์ตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและปัญหาที่โรงเรียนแม่ตื่นวิทยาคมกำลังประสบ จึงได้คิดโครงการ “น้ำยาล้างจานสูตรรักษ์โลก” เพื่อผลิตน้ำยาล้างจานปลอดสารเคมี ช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยแนวคิดดังกล่าว ได้รับการคัดเลือกและทุนสนับสนุนจาก ปตท.สผ. ในการทำโครงการ
น้ององค์อธิบายถึงที่มาของโครงการว่า ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชน ซึ่งได้รับการปลูกฝังจากการเข้าค่าย PTTEP Teenergy ทำให้เขาตระหนักว่าน้ำทิ้งจากการล้างจานด้วยน้ำยาที่ผลิตจากสารเคมี ส่งกลิ่นและเกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของโรงเรียนและยังเป็นอันตรายต่อร่างกายของนักเรียนเองด้วย หากปล่อยเรื่องนี้ให้เป็นปัญหาต่อไป ก็จะส่งผลกระทบต่อโรงเรียนและชุมชนในที่สุด เขาจึงริเริ่มรวบรวมเพื่อนๆ น้อง ๆที่ตระหนักถึงปัญหา มาหาทางช่วยกันแก้ไข น้ององค์จึงเกิดความคิดที่จะทำน้ำยาล้างจานใช้เองในโรงเรียนเพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนและชุมชน
น้ำยาล้างจานรักษ์โลกที่น้ององค์ร่วมกับเพื่อนผลิตขึ้นนี้ ได้สูตรมาจากครูที่ปรึกษาในโรงเรียน ซึ่งใช้ส่วนประกอบคือพืชและสมุนไพรท้องถิ่นที่สามารถนำมาทำน้ำยาล้างจานได้ เช่น ดอกอัญชัน ขมิ้น ตะไคร้ ใบเตยและกระเจี๊ยบ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการช่วยชำระคราบสกปรกให้กับภาชนะและยังหาได้ง่ายในท้องถิ่น
“บางครั้งของดีไม่จำเป็นต้องเป็นของราคาแพง เพียงแค่เปลี่ยนมุมมองและทดลองทำเราก็สามารถสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าด้วยตัวเองได้สำหรับขวดน้ำยาล้างจาน ผมก็นำขวดน้ำซึ่งเป็นของเหลือใช้ที่สามารถหาได้ทั่วไปในโรงเรียนและโดยนำขวดที่ถูกทิ้งมาใช้เป็นภาชนะใส่น้ำยาล้างจานน้ององค์กล่าวด้วยความภาคภูมิใจในขณะที่ถ่ายทอดความรู้ในการทำน้ำยาล้างจาน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมราว 200 คน ทั้งเพื่อนนักเรียนและชาวบ้านชุมชน
โครงการ “น้ำยาล้างจานรักษ์โลก”ไม่เพียงแต่สามารถช่วยโรงเรียนแม่ตื่นวิทยาคมและรักษาสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน เมื่อผลตอบรับดี ก็มีแผนจะเปลี่ยนน้ำยาล้างจานสไตล์ท้องถิ่นเป็นสินค้าประจำโรงเรียน และต่อยอดไปยังผลิตภัณฑ์อื่นๆ ด้วย น้ององค์กล่าวด้วยแววตามุ่งมั่น
พลังของน้อง ๆ ในการทำกิจกรรมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชนให้ดีขึ้นครั้งนี้ เป็นกิจกรรมเล็ก ๆ กิจกรรมหนึ่ง ในฐานะแนวร่วมเพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งได้รับการปลูกฝังจากค่าย "PTTEP Teenergy"และถูกนำมาปรับใช้เพื่อสร้างประโยชน์แก่ชุมชนของตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม จิตสำนึกของน้องๆ ในการร่วมบำเพ็ญประโยชน์และช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมโดยเริ่มจากเรื่องใกล้ตัวครั้งนี้ น่าจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนในหลายพื้นที่สำหรับการริเริ่มทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ จิตสำนึกที่เริ่มจากเยาวชนกลุ่มเล็ก ๆ ในชุมชนจะกลายเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาให้ขยายเป็นวงกว้างต่อไปในสังคมของเรา
Website: http://www.pttep.com Facebook:http://www.facebook.com/pttepplc

READ MORE

READ MORE

แต่งบ้านเสริมดวงเฮงรับปีจอ
DC Consultants และ โสสุโก้ ชวนแต่งบ้านเสริมดวงเฮงรับปีจอ

ช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมา หลายบ้านมีการจัดของไหว้เจ้าเพื่อเป็นสิริมงคล รวมถึงทำความสะอาดบ้าน หรือจัดบ้านใหม่ตามความเชื่อในเรื่องของฮวงจุ้ยประจำปี ดังนั้นวันนี้ บริษัท โสสุโก้ แอนด์ กรุ๊ป (2008) จำกัด ผู้ดำเนินการตลาดและการขายกระเบื้องปูพื้นและบุผนังตรา “โสสุโก้” จึงนำเคล็ดลับในการแต่งบ้านเสริมดวงต้อนรับปีจอมาฝากกัน

ตามความเชื่อสำหรับการตกแต่งบ้านตามหลักฮวงจุ้ยตำราจีนโบราณ การตกแต่งบ้านด้วยสิ่งของที่เป็นสิริมงคลเหล่านี้จะช่วยเสริมดวงในเรื่องที่แตกต่างกัน ด้วยเริ่มจาก “ทำบ้านให้โล่ง” เพื่อต้อนรับพลังงานดีๆ เพราะพลังงานคือสิ่งสำคัญที่สุดตามหลักฮวงจุ้ย สามารถเรียกเงินทอง และทำให้ผู้อยู่อาศัยมีแต่เรื่องดีๆ ดังนั้นควรจัดข้าวของต่างๆ ในบ้านให้เป็นระเบียบ พร้อมทำความสะอาดบ้านไม่ให้รกรุงรัง “บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์” ก่อนจะอันเชิญสิ่งที่เคารพนับถือเข้ามาบูชาภายในบ้าน ควรหาทิศทางและตำแหน่งการวางที่เหมาะสม ไม่ควรวางใกล้ห้องน้ำ ห้องซักรีด และโรงจอดรถ แนะนำให้นำอัญมณีต่างๆ มาประดับตกแต่งแท่นบูชาเพื่อเสริมสิริมงคล “ใช้สีที่สื่อถึงความร่ำรวยภายในบ้าน” สีแรกที่คนส่วนใหญ่นึกถึงคงจะเป็นสีทอง แต่ในความเป็นจริงไม่ต้องถึงกับทาสีผนังบ้านเป็นสีทองก็ได้ สำหรับผู้ที่ไม่ชอบสีทองอาจเลือกใช้ของตกแต่งบ้านที่มีสีทอง หรือใช้กระเบื้องบุผนังหรือกระเบื้องปูพื้นที่มีดีไซน์ดูหรูหราแทน “เน้นตกแต่งด้วยลวดลายธรรมชาติ” ควรหาของประดับตกแต่งที่มีลวดลายธรรมชาติ จะช่วยดึงดูดทรัพย์และโชคลาภได้ เช่น ขอบโต๊ะที่มีลวดลายโค้งมนคล้ายคลื่นน้ำ ของตกแต่งทรงสูงเป็นตัวแทนธาตุไม้ หรือหากใครอยากตกแต่งมุมบ้านเป็นสวนเล็กๆ ก็สามารถใช้กระเบื้องดิจิตอลลายหินหรือลายหญ้ามาปูพื้น แล้วตกแต่งด้วยไม้มงคลต่างๆ จะช่วยดึงดูดความมั่งคั่งมาสู่คนในบ้านได้เช่นกัน

ใครที่กำลังวางแผนจัดบ้านใหม่และอยากเสริมดวงรับปีจอไปด้วย อย่าลืมนำเทคนิคง่ายๆ เหล่านี้ไปปรับใช้ในการตกแต่ง เลือกชมสินค้าของโสสุโก้และอ่านคำแนะนำในการตกแต่งได้ที่เว็บไซต์ www.sosuco2008.co.th พร้อมทั้งติดตามความเคลื่อนไหวของ “กระเบื้องโสสุโก้” ได้ที่เฟซบุ๊คแฟนเพจ “SOSUCO” สอบถามเพิ่มเติมโทร. 02-783-9898-99 และสามารถเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ได้ที่ www.online.sosuco.co.th

READ MORE

READ MORE

ถอดรหัสความสำเร็จ 3 แบรนด์เด่นแห่งปี
เข้าสู่ครึ่งปีหลัง เรามาลุ้นกันว่าเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกจะเดินไปทิศทางใด หลังจากต้องเผชิญกับความผันผวนจากหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงการลงประชามติขอถอนตัวจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ หรือ Brexit ที่ทุกคนทราบผลกันแล้ว ก็ต้องติดตามกันต่อไปครับว่า ผลพวงที่จะตามมามีอะไรบ้าง จะกระทบกับไทยเรามากน้อยแค่ไหน
วันก่อน ไปร่วมงานที่สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ในฐานะ Commentator และวิทยากรบรรยายปิดหลักสูตรอบรม Super Brand Manager รุ่นที่ 30 ซึ่งจัดกันมาอย่างต่อเนื่อง มีทั้งเนื้อหาที่เข้มข้น รวมถึงกรณีศึกษาจากผู้บริหารมืออาชีพระดับประเทศ ที่ล้วนประสบความสำเร็จในการสร้าง
แบรนด์ โดยธีมหลักของปีนี้ คือ ‘เคล็ดลับวิธีปั้นของดีในมือ ให้ลือลั่น’ สิ่งที่น่าชื่นชม คือ บรรดานักการตลาดกว่า 30 ชีวิตที่มาร่วมเรียน ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา ล้วนเป็นระดับมืออาชีพ และมีมุมมองด้านการตลาดที่น่าสนใจ โดยเฉพาะที่ต้องยกนิ้วให้ คือ การวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดและผู้บริโภค การจัดทำ Market & Consumer Insight นั้นเรียกว่า ระดับมือพระกาฬกันเลยทีเดียว
ที่เป็นเช่นนั้น เพราะนักการตลาดที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของแบรนด์ดัง มาลงเรียนกันเองในหลักสูตรนี้ จึงทำให้มีข้อมูลที่เจาะลึกแบบหาไม่ได้ที่ไหน จึงขอนำบางส่วนมาเล่าสู่กันฟัง ในการ ถอดรหัสความสำเร็จของ 3 แบรนด์สินค้าที่กำลังมาแรงในยุคนี้ นั่นคือ ยามาฮ่า ข้าวพันดี และเบทาโกร อยากรู้ว่าเบื้องหลังความสำเร็จของแบรนด์เหล่านี้คืออะไร ตามผมมาครับ
เริ่มที่ ยามาฮ่า ซึ่งดำเนินธุรกิจในไทยมานาน ภาพรวมการตลาดปีนี้มียอดขายเติบโตขึ้นมาก โดยปัจจัยหนุนคือตลาดรถจักรยานยนต์ประเภทบิ๊กไบค์ขยายตัวแรงมาก ซึ่งยามาฮ่าสามารถทำตลาดตรงนี้ได้ด้วยการส่งบิ๊กไบค์ออกมาตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้ครอบคลุม เพราะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้บริโภคและใช้สื่อออนไลน์ในการแนะนำศูนย์บริการเพื่อเป็นการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วทันใจ รวมถึงแอพพลิเคชันที่ให้ผู้บริโภคศึกษาข้อมูลได้ อีกทั้งยังสามารถออกแบบได้ด้วยว่าต้องการให้บิ๊กไบค์ของตนเป็นแบบไหน ซึ่งถือว่าเป็นจุดแข็งหนึ่งที่ทำได้ดี
ยามาฮ่าเน้นสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ดูเข้มแข็ง strong และมุ่งยกระดับแบรนด์ให้เทียบเท่าแบรนด์ยุโรปอย่าง BMW, DUCATI ให้ได้ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ชัดเจน ขณะที่อีกกลยุทธ์ที่ใช้อย่างต่อเนื่องคือ อีเวนต์มาร์เก็ตติ้ง โดยจัดคอนเสิร์ตเพื่อสร้างความตื่นเต้นให้กับกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นกลุ่มผู้ชายอายุ 20-35 ปีที่มีไลฟ์สไตล์เป็นของตนเอง รักอิสระ
สรุปได้ว่ากลยุทธ์สำคัญในการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดของยามาฮ่าประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1. สร้างสรรค์กิจกรรมส่งเสริมภาพลักษณ์ภายใต้แบรนด์แคมเปญใหญ่ “Revs Your Heart” ที่ยามาฮ่าใช้สื่อสารทั่วโลกต่อเนื่อง 3 ปี และเน้นกลยุทธ์การตลาดแบบดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งที่สร้างสรรค์และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสภาพการแข่งขันทางการตลาดยุคใหม่
2. สร้างยอดขายที่มากขึ้นให้กับผู้จำหน่าย ด้วยการเพิ่มสินค้าใหม่ที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูง และสร้างความแตกต่างด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ เน้นที่กลุ่มวัยรุ่นที่กำลังเข้าสู่ตลาด
3. รักษาฐานลูกค้าด้วยบริการหลังการขาย ขยายเครือข่ายโชว์รูมยามาฮ่าสแควร์ ปรับปรุงศูนย์บริการให้มีมาตรฐานสูงขึ้น พร้อมโชว์รูมและขยายเครือข่ายอะไหล่ในพื้นที่เพื่อตอบรับความต้องการของลูกค้าและผู้ใช้รถจักรยานยนต์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

มาดูแบรนด์ที่สอง เครือเบทาโกร อีกหนึ่งบริษัทที่พลิกวิกฤตเป็นโอกาสด้วยการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ เพื่อให้หลังบ้านมีความแข็งแกร่งและเดินไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ นั่นคือการนำพาองค์กรก้าวสู่รายได้ 1 แสนล้านบาทในสิ้นปี 2559 นี้ ซึ่งกลยุทธ์ที่เครือเบทาโกรนำมาใช้ คือ การปรับลดหน่วยการทำงานจาก 4 ส่วน เหลือเพียง 2 ส่วน คือ ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม และธุรกิจอาหาร เพื่อให้ธุรกิจมีความคล่องตัวที่จะเดินต่อไปข้างหน้ามากยิ่งขึ้น
ทิศทางการดำเนินธุรกิจอาหารของบริษัทปีนี้จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ และสามารถตอบสนองความต้องการของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความสะดวกสบาย โดยปีนี้มีแผนที่จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มไส้กรอกไขมันต่ำเข้ามาทำตลาดเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค
เบทาโกรมีแผนที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในกลุ่ม Reduce, Plus และ Free ready to Eat อีกไม่ต่ำกว่า 100 รายการ ขณะเดียวกันก็จะพัฒนาช่องทางการจำหน่ายควบคู่ไปด้วย โดยมุ่งขยายแผงอนามัยเนื้อหมูเนื้อไก่ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ พร้อมกับเพิ่มการกระจายสินค้าให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มโมเดิร์นเทรด ฟู้ดเซอร์วิส หรือร้านค้าทั่วไป
นอกจากนี้ ยังได้ลงทุนระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) อย่างเต็มรูปแบบเพื่อเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานและเชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ขณะเดียวกันยังได้มีการตั้งศูนย์นวัตกรรมอาหาร เพื่อเป็นศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งในส่วนของสินค้าใหม่และบรรจุภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของตลาดและลูกค้า อีกทั้งยังพัฒนาองค์กรความรู้ การให้ข้อมูลเชิงเทคนิค ตลอดจนการแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าในกลุ่มธุรกิจอาหารควบคู่กันไปอีกด้วย
เพราะเครือเบทาโกรมองเห็นศักยภาพของการขยายธุรกิจในประเทศว่ายังมีโอกาสให้สร้างรายได้อีกมาก แม้ว่าปัจจุบันภาพรวมเศรษฐกิจของไทยจะอยู่ในภาวะชะลอตัว แต่หากมีการเตรียมความพร้อม ไม่ว่าจะเป็นในด้านของบุคลากร สินค้า ช่องทางจำหน่ายและบริการที่ดีเยี่ยม ตลาดในประเทศก็ยังถือเป็นตลาดที่ใหญ่ เนื่องจากธุรกิจอาหารเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละวัน
สุดท้าย แบรนด์ ข้าว 1000 ดี ที่มาพร้อมสโลแกน ข้าวไทยพันธุ์ดี ปลูกดี ผลิตดี การันตีระดับโลก เพื่อให้คนไทย อยู่ดีกินดี มาจากต้นกำเนิดของเจตนารมย์ในการสร้างกิจการเพื่อคัดสรรข้าวไทย ตั้งแต่สายพันธุ์ของไทยแท้ที่มีคุณสมบัติดี ปลอดภัย และนุ่ม หอม อร่อย สมศักดิ์ศรีของข้าวไทย สู่กระบวนการเพาะปลูกในพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์ ให้ข้าวแต่ละเมล็ดมีแร่ธาตุจากผืนนาที่มีคุณค่า จากใจและมือของพี่น้องชาวนาไทยที่เปี่ยมด้วยความรักในการเพาะปลูกข้าวที่ดี เข้าสู่กระบวนการผลิตในโรงงานที่ได้มาตรฐาน คำนึงถึงความสะอาด ปลอดภัยตามหลักสากลที่เข้มงวดในทุกขั้นตอนการผลิตสู่การบรรจุ เพื่อให้ข้าวพันดีแต่ละเมล็ดคงคุณค่าทั้งความอร่อย และคุณค่าสารอาหารจากต้นกำเนิดสู่ผู้บริโภคในทุกครัวเรือน
เกือบ 6 ปีแล้วที่ข้าวพันดีเป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้บริโภคคนไทย ด้วยความตั้งใจของ บริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด กับพันธมิตรที่แข็งแกร่ง คือ บริษัท เอเชีย โกลเด้นไรซ์ จำกัด (AGR) ผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของไทย
และด้วยเหตุที่ตลาดข้าวในไทยมีการแข่งขันกันสูง ทำให้ ข้าวพันดี ต้องกำหนดจุดขายไปที่การผลิตข้าวคุณภาพ โดยร่วมมือกับทาง AGR ที่มีหลักคิดเดียวกับทางสิงห์ คอร์เปอร์เรชั่น คือการมุ่งมั่นผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพออกสู่ท้องตลาด แล้วพัฒนาให้การรับรู้ของผู้บริโภคกับแบรนด์ ข้าวพันดี ว่าคือ ข้าวที่ดีที่สุด ที่ผ่านการคัดสรรอย่างดีจากมืออาชีพด้านการผลิตข้าว ด้วยแนวทางนี้ จึงทำให้ ข้าวพันดี สามารถปักธงในตลาดข้าวของไทยได้อย่างทุกวันนี้
นอกจากนั้น ความสำเร็จของข้าวพันดีในวันนี้ยังมาจากการวางกลยุทธ์ทางการตลาดที่มุ่งเน้นการลงพื้นที่ทำกิจกรรม “ชงชิม” อย่างสม่ำเสมอ เพื่อรุกเข้าหาผู้บริโภคทั่วไทย ให้ทุกคนได้ชิมข้าวของเราว่าอร่อย นุ่ม มีคุณภาพจริงๆ ถือว่าแบรนด์ ข้าวพันดี เป็นแบรนด์ต้นๆ ที่ออกทำกิจกรรมมากที่สุด ปีหนึ่งไม่ต่ำกว่า 1,000 จุดทั่วประเทศเลยทีเดียว และการตลาดนี้ยังรุกเข้าสู่กิจกรรมการขาย ไม่ว่าจะเป็น Wholesale หรือ Retail รวมถึงร้านอาหารต่างๆ จนทุกวันนี้มีร้านอาหารไปจนถึงโรงแรม ภัตตาคารชั้นนำ ใช้ข้าวพันดีอยู่มากมาย
สุดท้ายขอฝากไว้ว่า ความสำเร็จ ‘วิธีการ’ ก็สำคัญ ‘ทิศทาง’ ยิ่งสำคัญ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ‘หัวใจ’ ที่ปรารถนาความสำเร็จ

READ MORE

READ MORE

สู่ยุค THAILAND 4.0 ต้องปฏิวัติการบริการด้วยนวัตกรรมดิจิทัล
สวัสดีครับ ฉบับนี้เรามาคุยกันเรื่อง Thailand 4.0 กันต่อ เชื่อว่าหลายท่านคงจะเข้าใจถึงแนวความคิด ที่มาที่ไปของ Thailand 4.0 กันแล้ว วันนี้เราจะมาดูกันว่าสิ่งที่ควรทำต่อจากนี้ไปมีอะไรบ้าง เพื่อพัฒนาธุรกิจให้เติบโตเท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของยุคดิจิทัล โดยเรื่องที่จะแบ่งปันในวันนี้ก็คือ การปฏิวัติการให้บริการลูกค้าด้วยนวัตกรรมดิจิทัล ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะรอช้าไม่ได้แม้แต่วินาทีเดียว เรียกว่าต้องทำทันที เพราะแค่เราหยุดหนึ่งก้าว คนอื่นเขาก็วิ่งแซงเราไปหลายก้าวแล้ว

ถ้าพูดถึงเรื่องเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคดิจิทัล ต้องฟังแนวคิดจากท่านนี้ครับ พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม ซึ่งมีวิสัยทัศน์ที่น่าสนใจมาก ขออนุญาตนำสิ่งที่ท่านบอกเล่าเอาไว้มาเผยแพร่ให้ได้รับทราบไปพร้อมๆ กัน

เทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้รูปแบบธุรกิจที่มีอยู่เกิดความต่อเนื่องมากขึ้น หรือเกิดเป็นธุรกิจรูปแบบใหม่ (New business model) ทำให้ธุรกิจที่แตกต่างกันสามารถเชื่อมถึงกันได้หมด ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ บริการใหม่ หรือประสบการณ์ใหม่ๆ ด้านข้อมูลและเทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองการสื่อสารสองทาง และ Real time ให้แก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมด้านดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้บริษัทสามารถลดต้นทุนในการให้บริการลูกค้า ขณะเดียวกันก็สามารถเพิ่มความพึงพอใจแก่ลูกค้า และสามารถรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ได้ โดยนวัตกรรมด้านดิจิทัลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของระบบเศรษฐกิจตลอดช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา และทำให้องค์กรต่างๆ เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องพัฒนากลยุทธ์ของบริษัทเพื่อให้สามารถรักษาตำแหน่งทางการตลาดไว้ โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัล

คนทั่วโลก รวมทั้งคนไทยจะได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลในการใช้ชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การทำธุรกรรม การเช่าภาพยนตร์ ตลอดจนการเรียกใช้บริการแท็กซี่ นอกจากนี้ ผู้นำทางธุรกิจทุกอุตสาหกรรมยังต้องตระหนักด้วยว่าการใช้กลยุทธ์ดิจิทัล (Digital Strategy) เพื่อดำเนินการภายในบริษัทจะต้องพบกับความท้าทายที่ซับซ้อนมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ดิจิทัลแบบครบวงจร มีความซับซ้อนทั้งในการพัฒนาและการปฏิบัติ แต่อุปสรรคขององค์กรในธุรกิจต่างๆ ที่พบได้บ่อยๆ เช่น การมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลายและเทคโนโลยีแบบดั้งเดิมที่ทำให้ยากต่อการดำเนินงาน และส่งผลกระทบต่อความรวดเร็วในการนำกลยุทธ์ใหม่ๆ มาปรับใช้ เพราะเทคโนโลยีเก่าที่ใช้อยู่ รวมทั้งบุคลากรไม่พร้อมที่จะรับกับการเปลี่ยนแปลงในการทำงานรูปแบบใหม่

ความท้าทายที่เกิดจากการปฏิวัติดิจิทัลจะก่อให้เกิดโอกาสที่สำคัญ โดยบริษัทจะต้องมีเครื่องมือใหม่ๆ เพื่อให้มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้ดีขึ้น และสามารถรักษาความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับลูกค้าไว้ ในขณะที่จะต้องขับเคลื่อนการทำงานที่มีประสิทธิภาพได้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยเป็นเวลานาน ซึ่งจะต้องปรับกลยุทธ์และรูปแบบธุรกิจ เพื่อรักษาความสามารถการแข่งขันในตลาด

อย่างไรก็ตาม ความล้มเหลวในการปรับตัวเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก ถือเป็นความเสี่ยงของธุรกิจในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล โดยผู้ให้บริการที่สามารถแยกประเภทการให้บริการลูกค้าที่มีความแตกต่างกันได้ มีการดำเนินการและมีกลยุทธ์ดิจิทัลที่ยืดหยุ่น จะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากกว่าคู่แข่ง และสามารถลดต้นทุนในการให้บริการลูกค้า สามารถเพิ่มระดับความพึงพอใจ และรักษาลูกค้าไว้ได้

ประสบการณ์ทางดิจิทัลที่แตกต่างกันของลูกค้าก็เป็นปัจจัยสำคัญที่บริษัทจะต้องให้ความสนใจ ลูกค้าที่มีการใช้งานออนไลน์เป็นประจำ มักจะสามารถติดต่อกับฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ทางช่องทางออนไลน์ (เว็บไซต์, mobile application เป็นต้น) ได้ด้วยตนเอง ซึ่งลูกค้าเหล่านี้มีความคาดหวังว่าประสบการณ์ทางด้านดิจิทัลที่ดีของผู้ให้บริการจะสามารถตอบคำถามลูกค้าได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ

หากผู้ให้บริการล้มเหลวในการให้บริการออนไลน์แก่ลูกค้าจะทำให้ไม่สามารถให้ข้อมูลแก่ลูกค้า ไม่สามารถตอบคำถามลูกค้า หรือลูกค้าอาจรู้สึกถึงความยุ่งยากซับซ้อนในการดำเนินการ ส่งผลให้ลูกค้าไม่อยากใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ และเปลี่ยนไปใช้ช่องทางอื่นแทน ซึ่งจะทำให้ผู้ให้บริการมีต้นทุนที่สูงขึ้น เช่น ช่องทางโทรศัพท์ หรือการอีเมลไปยัง call center

ทั้งนี้ สาเหตุที่ลูกค้าไม่นิยมใช้ช่องทางออนไลน์ ส่วนใหญ่แล้วเนื่องมาจากผู้ให้บริการไม่มีข้อมูลที่ลูกค้าต้องการ ใช้ภาษาที่ไม่ชัดเจน มีขั้นตอนที่ลูกค้าจะต้องดำเนินการในออนไลน์มากเกินไป หรือการใช้งานยุ่งยาก เป็นต้น ซึ่งจะเป็นอุปสรรคที่ทำให้ลูกค้าไม่สามารถดำเนินการบนออนไลน์ได้ด้วยตนเอง

หากนำเครื่องมือดิจิทัลมาใช้ในการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าจะทำให้เกิดประโยชน์มาก โดยเครื่องมือดิจิทัลที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองลูกค้า และยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการขาย เนื่องจาก 1) สามารถบอกสิทธิประโยชน์ของผลิตภัณฑ์และบริการที่มีความซับซ้อนให้ลูกค้าเข้าใจได้ง่ายขึ้น 2) สามารถปรับปรุงกระบวนการขายให้มีความกระชับ 3) เครื่องมือดิจิทัลทำให้การดำเนินการทางธุรกิจมีความรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย และมีความผิดพลาดน้อยลง

ปัจจุบัน บริษัทด้านเทคโนโลยี ร้านค้าปลีกออนไลน์ และผู้ให้บริการด้านการเงิน ได้นำแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมและประสบการณ์ด้านดิจิทัลที่มุ่งเน้นความเป็นมิตรต่อลูกค้า ลูกค้าที่มีประสบการณ์ด้านดิจิทัลที่ต่างกันก็สามารถใช้งานได้ โดยลูกค้าส่วนใหญ่คาดหวังว่าการใช้งานออนไลน์ของผู้ให้บริการประกันภัยจะต้องใช้งานง่ายและกระชับ เหมือนเว็บไซต์และ mobile application อื่นทั่วๆ ไป

หนึ่งในแนวทางของนวัตกรรมด้านดิจิทัล คือ การออกแบบให้สามารถตอบสนองผ่าน user interfaces ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถปรับเปลี่ยนขนาดได้ตามรูปแบบของหน้าจออุปกรณ์ที่ใช้ ถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของประสบการณ์ผู้ใช้งานผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลาย และบริษัทให้ความสำคัญต่อเนื้อหาและบริการที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า ตัวอย่างเช่น ในธุรกิจประกันภัย ผู้ใช้งานสามารถดูค่าใช้จ่ายหรือค่าเบี้ยประกันผ่านสมาร์ทโฟน หรือจะดูข้อมูลดังกล่าวในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความสามารถในการตอบสนองลูกค้ามากขึ้น นอกจากนี้การปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย ก็จะช่วยจูงใจให้ลูกค้าเข้ามาชมเว็บไซต์เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

ไม่เหมือนในอดีตครับ การปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานออนไลน์ในปัจจุบันนั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญทั้งหมด หลายองค์กรพบว่าขั้นตอนที่มีต้นทุนต่ำที่สุดคือความสามารถในการเข้าใจสิ่งที่ลูกค้าต้องการ เพื่อจูงใจให้ลูกค้าเข้าใช้งานบ่อยที่สุด และสามารถให้ข้อมูลที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ง่าย นอกจากนี้การออกแบบรูปแบบการนำเสนอที่ดีจะทำให้เกิดประสบการณ์ออนไลน์ที่คล่องตัวมากขึ้นอีกทางหนึ่ง เช่น แบบตัวอักษรที่อ่านง่าย ใช้ภาษาที่ชัดเจน มีการจัดวางรูปแบบที่ดี มีความสะดวกในการใช้งาน เป็นต้น

เห็นหรือยังครับว่า การปฏิวัติการบริการด้วยนวัตกรรมดิจิทัล ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูงเลย ลงมือทำเถอะครับ ก่อนที่จะไม่มีที่ยืนในเส้นทางธุรกิจอันเชี่ยวกรากนี้ สู้ๆ นะครับ!

READ MORE